วันศุกร์ที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2553

VGA Card หรือ Display Adapter

มีหน้าที่เปลี่ยนสัญญาณ digital ให้เป็นสัญญาณภาพ โดยมี Chip เป็นตัวหลักในการประมวลการแปลงสัญญาณ ส่วนภาพนั้น CPU เป็นผู้ประมวลผล แต่ปัจจุบัน เทคโนโลยีการประมวลผลภาพนั้น VGA card เป็นผู้ประมวลผลเองโดย Chip นั้นได้เปลี่ยนเป็น GPU (Grarphic Processing Unit) ซึ่งจะมีการประมวลภาพในตัว Card เองเลย เทคโนโลยีนี้เป็นที่แพร่หลายมากเนื่องจากราคาเริ่มปรับตัวต่ำลงมาจากเมื่อก่อนที่เทคโนโลยีนี้เพิ่งเข้ามาใหม่ๆ โดย GPU ค่าย Nvidia เป็นผู้ริเริ่มการลุยตลาด

หลักการทำงานพื้นฐานของการ์ดแสดงผลจะเริ่มต้นขึ้น เมื่อโปรแกรมต่างๆ ส่งข้อมูลมาประมวลผลที่ ซีพียูเมื่อซีพียูประมวลผล เสร็จแล้ว ก็จะส่งข้อมูลที่จะนำมาแสดงผลบนจอภาพมาที่การ์ดแสดงผล จากนั้น การ์ดแสดงผล ก็จะส่งข้อมูลนี้มาที่จอภาพ ตามข้อมูลที่ได้รับมา การ์ดแสดงผลรุ่นใหม่ๆ ที่ออกมาส่วนใหญ่ ก็จะมีวงจร ในการเร่งความเร็วการแสดงผลภาพสามมิติ และมีหน่วยความจำมาให้มากพอสมควร

หน่วยความจำการ์ดแสดงผลจะต้องมีหน่วยความจำที่เพียงพอในการใช้งาน เพื่อใช้สำหรับเก็บข้อมูลที่ได้รับมาจากซีพียู และสำหรับการ์ดแสดงผล บางรุ่น ก็สามารถประมวลผลได้ภายในตัวการ์ด โดยทำหน้าที่ในการ ประมวลผลภาพ แทนซีพียูไปเลย ช่วยให้ซีพียูมีเวลาว่ามากขึ้น ทำงานได้เร็วขึ้น

เมื่อได้รับข้อมูลจากซีพียูมาการ์ดแสดงผล ก็จะเก็บข้อมูลที่ได้รับมาไว้ในหน่วยความจำส่วนนี้นี่เอง ถ้าการ์ดแสดงผล มีหน่วยความจำมากๆ ก็จะรับข้อมูลมาจากซีพียูได้มากขึ้น ช่วยให้การแสดงผลบนจอภาพ มีความเร็วสูงขึ้น และหน่วยความจำที่มีความเร็วสูงก็ยิ่งดี เพราะจะมารถรับส่งข้อมูลได้เร็วขึ้น ยิ่งถ้าข้อมูล ที่มาจากซีพียู มีขนาดใหญ่ ก็ยิ่งต้องใช้หน่วยความจำที่มีขนาดใหญ่ๆ เพื่อรองรับการทำงานได้โดยไม่เสียเวลา ข้อมูลที่มี ขนาดใหญ่ๆ นั่นก็คือข้อมูลของภาพ ที่มีสีและความละเอียดของภาพสูงๆ

ความละเอียดในการแสดงผลการ์ดแสดงผลที่ดีจะต้องมีความสามารถในการแสดงผลในความละเอียดสูงๆ ได้เป็นอย่างดี ความละเอียดในการแสดงผลหรือ Resolution ก็คือจำนวนของจุดหรือพิเซล (Pixel) ที่การ์ดสามารถนำไป แสดงบนจอภาพได้ จำนวนจุดยิ่งมาก ก็ทำให้ภาพที่ได้ มีความคมชัดขึ้น ส่วนความละเอียดของสีก็คือ ความสามารถในการแสดงสี ได้ในหนึ่งจุด จุดที่พูดถึงนี้ก็คือ จุดที่ใช้ในการแสดงผล ในหน้าจอ เช่น โหมดความละเอียด 640x480 พิกเซล ก็จะมีจุดเรียงตามแนวนอน 640 จุด และจุดเรียงตามแนวตั้ง 480 จุดโหมดความละเอียดที่เป็นมาตราฐานในการใช้งานปกติก็คือ 640x480 แต่การ์ดแสดงผลส่วนใหญ่ สามารถที่จะแสดงผลได้หลายๆ โหมด เช่น 800x600, 1024x768 และการ์ดที่มีประสิทธิภาพสูงก็จะ สามารถแสดงผลในความละเอียด 1280x1024 ส่วนความละเอียดสก็มี 16 สี, 256 สี, 65,535 สี และ 16 ล้านสีหรือมักจะเรียกกันว่า True color

อัตราการรีเฟรชหน้าจอการ์ดแสดงผลที่มีประสิทธิภาพ จะต้องมีอัตราการรีเฟรชหน้าจอได้หลายๆ อัตรา อัตราการรีเฟรชก็คือ จำนวนครั้งในการกวาดหน้าจอ ใหม่ในหนึ่งวินาที ถ้าหากว่าอัตรารีเฟรชต่ำ จะทำให้ภาพบนหน้าจอ มีการกระพริบ ทำให้ผู้ที่ใช้งานคอมพิวเตอร์ เกิดอาการล้า ของกล้ามเนื้อตา และอาจทำให้เกิดอันตราย กับดวงตาได้ อัตราการรีเฟรชในปัจจุบันอยู่ที่ 72 เฮิรตซ์ ถ้าใช้จอภาพขนาดใหญ่ อัตรารีเฟรชยิ่งต้องเพิ่มมากขึ้น อัตรารีเฟรชยิ่งมากก็ยิ่งดี

MODEMS

*//โมเด็ม (Modems)//* เป็นอุปกรณ์สำหรับคอมพิวเตอร์อย่างหนึ่งที่ช่วยให้คุณสัมผัสกับโลกภายนอกเพื่อการสื่อสารติดต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์อื่น ๆ ในระยะไกลโดยผ่านทางสายโทรศัพท์ เป็นตัวแยกสัญญาณแอนะล็อก (analog) และดิจิทัล (digital) โมเด็มเป็นเสมือนโทรศัพท์สำหรับคอมพิวเตอร์ที่จะช่วยให้ สามารถสื่อสารกับคอมพิวเตอร์อื่นๆ ได้ทั่วโลก โมเด็มจะสามารถทำการเชื่อมต่อระหว่างคอมพิวเตอร์ ของคุณ เข้ากับคู่สายของโทรศัพท์ธรรมดาคู่หนึ่ง ซึ่งโมเด็มจะทำการแปลงสัญญาณระหว่าง สัญญาณคอมพิวเตอร์ กับ สัญญาณโทรศัพท์ เพื่อให้สามารถส่งไปบนคู่สายโทรศัพท์ กับ บุคคล ต่างๆได้

*//การเลือกซื้อโมเด็ม//*
สิ่งที่ควรพิจารณาในการเลือกซื้อโมเด็มมาใช้งาน เช่น - สามารถเข้ากันได้ กับ ระบบคอมพิวเตอร์ของคุณ - สามารถเข้ากันได้ กับ ระบบทำงาน OS ของคอมพิวเตอร์ของคุณ
- ความเร็วในการรับ
- ส่งสัญญาณ
- เป็นโมเด็มภายนอกหรือภายใน
- การบีบอัดข้อมูล
- ความสามารถในการควบคุมความผิดพลาด รับ
- ส่งโทรสารได้
- ซอฟท์แวร์สื่อสาร

USB Flash Memory Drive

USB Flash Memory Drive อุปกรณ์ที่ใช้ในการเก็บข้อมูลที่ถูกเรียกกันหลากหลายชื่ออย่างเช่น Thumb Drive บ้าง Flash Dirve บ้างได้มีการพัฒนาให้มีขนาดเล็กแต่การเก็บข้อมูลมากขึ้น ซึ่งดูเหมือนจะเป็นที่นิยมกันในปัจจุบัน และเจ้าตัว USB Flash Memory Drive ก็ได้มีการพัฒนากันอย่างต่อเนื่องในเรื่องของความจุ จากที่ได้กล่าวมาข้างต้นก็จะรู้เพียงว่า USB Flash Memory Drive นั้นมีไว้เก็บ File ข้อมูล ในบทความนี้จะนำเสนอในเรื่อง Technology และการทำงานของ USB Flash Memory Drive USB Flash Memory Drive แบ่งออกเป็น 4 ส่วนหลักๆ
(1)ส่วนเก็บข้อมูล (Memory) เป็นส่วนที่เรียกว่า Flahs Memory Chip เป็นส่วนที่ใช้เก็บข้อมูลทั้งหมด โดยการเก็บข้อมูลนั้นไม่ จำเป็นต้องใช้ไฟเข้าไปเลี้ยงตลอดเวลา
(2)ส่วนควบคุมการทำงาน ( Controller) เป็นส่วนที่รวม CPU, เฟิร์มแวร์และ controller มาอยู่ใน Chip ตัวนี้เพียงตัวเดียว ทำให้เมื่อต่อพ่วงกับ Port ที่เป็น USB สามารถเห็นได้คล้ายกับ Removable Storage ทั่วไป ซึ่งใช้สำหรับ Windows ME/XP/2000 ส่วน Linux เมื่อทำการ mont จะเห็นเหมือน Drive 1 drive
(3)ส่วนควบคุมความถี่ (X-tal) ทำหน้าที่ควบคุมความถี่ 12 MHz ซึ่งเป็นความถี่เดียวกันกับที่ใช้ใน Mainboard โดยกลไก Timing นี้เอาไว้ดูแลและควบคุมข้อมูลเข้าออกจาก Cell memory
(4)ส่วนเชื่อมต่อ (Connector) เป็นส่วนที่ต่อเข้ากับ USB Post ของเครื่อง PC หรือ Notebook

การทำงานของ Flash Memoryหลักในการทำงานของ Flash Memory เริ่มจากเซล Memory จะถูกจัดเรียงแบบ Grid โดยเซลแต่ละเซลในชิฟ Flash Memory จะเก็บข้อมูลแบบถาวรเหมือนกับห้องขังที่มีประตูกั้นกระแสไฟฟ้าเอาไว้เป็นกลุ่มของ Electron เช่น ถ้าใน 1 Cell สามารถบรรจุ Electron ได้ถึง 13 ตัว เมื่อมีกระแสไฟฟ้าเข้าไป Electron จะถูกปล่อยออกมาโดยแต่ละ Cell จะถูกไฟฟ้ากระตุ้นไม่เท่ากัน ซึ่งการกระตุ้นจะเกิดจากการแปลงค่าข้อมูลที่เข้ามาเป็นค่าตัวเลขที่เป็นเลขฐาน 2 ตัว Controller จะมีการกำหนดว่า Electron ที่อยู่ภายในแต่ละ Cell ควรมีค่าเป็นเท่าใด เช่น ถ้ามีค่า Electron น้อยกว่าหรือเท่ากับที่กำหนดไว้ให้มีค่าของ Cell นั้นเป็น 1 นอกนั้นให้เป็น 0 เป็นต้น

AGP Slot (Accelerator Graphic Port)

เป็นสล็อตที่มีไว้สำหรับติดตั้งการ์ดแสดงผล หรือการ์ดจอเท่านั้น สล็อตเอจีพีจะมีสีน้ำตาล ตำแหน่งจะอยู่ด้านบนของสล็อต พีซีไอ และอยู่ใกล้กับตำแหน่งของซ็อคเก็ตที่ติดตั้งซีพียู เหตุผลที่ใช้ติดตั้งเฉพาะการ์ดแสดงผล ก็เนื่องจากระบบบัสแบบ PCI ที่ใช้กันอยู่เดิมนั้น ไม่สามารถตอบสนองการใช้งาน ที่ต้องการความรวดเร็วในการแสดงผลสูงๆ อย่างเช่น เกมสามมิติ โปรแกรมกราฟิกประเภทสามมิติ ออกแบบ บัสแบบเอจีพี หรือสล็อตแบบเอจีพีรุ่นใหม่ จะมีความเร็วในการรับส่งข้อมูลสูงขึ้น ซึ่งมีข้อสังเกตๆ ง่ายคือ 2X 4X 8X และล่าสุด 16X และ Express Card ซึ่งเร็วกว่า AGP Slot มาก ตัวเลขยิ่งสูงมากยิ่งเร็วขึ้น

MOUSE

Mouse เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ป้อนข้อมูลอย่างหนึ่งแต่ที่เห็นการทำงาน โดยทั่วไปจะเป็นตัวที่ใช้ควบคุมลูกศรให้เคลื่อนที่ไปยังตำแหน่งต่างๆ บนจอภาพ เหมาะสำหรับใช้งานเมื่อต้องเลือก หรือเลื่อนวัตถุต่างๆ บนจอ Mouse ต่อเข้ากับคอมพิวเตอร์ได้ 2 แบบ ได้แก่ 9 Pin, Serial Port และ PS/2 (Personal System Version2) Mouse แบ่งได้เป็นสองแบบคือ

1. แบบทางกล

2. แบบใช้แสง

Printer

เครื่องพิมพ์ เป็นอุปกรณ์ที่ต่อเข้ากับคอมพิวเตอร์โดยผ่านพอร์ตขนานที่มีขนาด 25 พิน เพื่อทำหน้าที่แสดงผลที่ได้จากการ ประมวลผลของเครื่องคอมพิวเตอร์ให้อยู่ในรูปของอักษร หรือรูปภาพที่จะไปปรากฏอยู่บนกระดาษ เครื่องพิมพ์แบ่งออกเป็น 4 ประเภท

1. เครื่องพิมพ์ดอตแมทริกซ์ (Dot Matrix Printer)

2. เครื่องพิมพ์แบบพ่นหมึก (Ink-Jet Printer)

3. เครื่องพิมพ์เลเซอร์ (Laser Printer)

4. พล็อตเตอร์ (plotter)

เคส

เคส คือ โครงหรือกล่องสำหรับประกอบอุปกรณ์ต่าง ๆ ของคอมพิวเตอร์ไว้ภายใน การเรียกชื่อ และขนาด ของเคสจะแตกต่างกันออกไป ซึ่งในปัจจุบันมีหลายแบบที่นิยมกัน แล้วแต่ผู้ซื้อจะเลือกซื้อตามความเหมาะสม ของงาน และสถานที่นั้น